การประยุกต์ใช้จิตวิทยาในชั้นเรียน

  1.  การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของโคลเบิร์ก                 

            ห้องเรียนทุกห้องจำเป็นจะต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่นักเรียนทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียนถ้าครูอธิบายเหตุผลของการมีกฎเกณฑ์และพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกรเขียนระบบกฎเกณฑ์ของห้องแทนการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน หากเกรงว่าจะถูกทำโทษหรือประพฤติดี เพราะต้องการรางวัลจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนใช้เหตุผลทางจริยธรรมขั้นสูง นอกจากนี้ครูจะช่วยพัฒนาทางจริยธรรมของนักเรียนได้ ถ้าครูมีความสัมพันธ์กับนักเรียน ชี้แจงเหตุผลเวลาทำโทษจะช่วยให้นักเรียนมีสติ มีความรับผิดชอบควบคุมความประพฤติของตนเอง
(Self-Control)

   2.การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของฟรอยด์          
               ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง ปี แรก ไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมก็เข้ารงเรียนได้โดยครูเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อม ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดวิชาต่างๆได้แล้วแต่เป็นสิ่งที่ครูจะต้องคิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน



3.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
          เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ     - ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
- ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม
หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
- เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
- เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
- เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
- เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
- ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
- ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
- ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
- ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
- เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
- ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
- ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
- ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
- ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
- มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
- พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
- ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
ในการจัดการเรียนรู้ให้วัยรุ่นควรจัดให้รู้จัดคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น