ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก

                                   ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ประวัติของโคลเบิร์ก

                ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)  ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์  ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
                โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่าง ไป

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

                โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น

ระดับที่  1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี

         ขั้นที่ 1  การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
              
         ขั้นที่ 2  กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
                
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี

         ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
                
         ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม              

ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
                
         ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา

         ขั้นที่ 6  หลักการคุณธรรมสากล

          โคลเบิร์ก ได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลเชิงจริยธรรม โดยทำการวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกันอายุ ๑๐-๑๖ปี และแบ่งประเภทเหตุผลเชิงจริยธรรมใว้ ๖ ประเภทคือ
    
ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง

        ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด” ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  “ผิด” พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก” 


  ขั้นที่ 2  กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน

         ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง


ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม        ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  



ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม              
      จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม 


ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
      ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม


ขั้นที่ 6  หลักการคุณธรรมสากล
         ในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” และ  “ผิด”  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ


ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านความคิดเป็นเหตุเป็นผล บุคคลจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นไปตามลำดับ ไม่มีการข้ามขั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น